บริษัท ส.พลังแสงอาทิตย์ จำกัด
S.Power Solar


โครงการ Solar Roof พ.ศ. 2558

ชื่อผู้ประกอบการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (VSPP) สำหรับ Solar Roof และ Solar Farm

  • บจก. สมกองทอง ทุนจดทะเบียน 32,000,000 บาท
  • บจก. ส.พลังแสงอาทิตย์ ทุนจดทะเบียน 45,000,000 บาท

 

โครงการ : ปี 2558

  1. ยื่นคำขอลงทุนโรงผลิตไฟฟ้าประเภท VSPP ติดตั้งบนหลังคาขนาดกำลังผลิต 10 Kw
    ทำสัญญาขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลา 25 ปี ทำสัญญาขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ระยะเวลา 25 ปี

  2. ยื่นคำขอติดตั้งในรอบปี 2558

  3. จะต้องติดตั้งแล้วเสร็จ เริ่มขายไฟฟ้า (SCOD) ภายใน ธันวาคม 2558

 

ชี้ชวนการลงทุน

โดยการร่วมทุนเป็นผู้ก่อตั้ง (Founder) สำหรับโครงการ Solar Roof ขณะนี้ และโครงการ Solar Farm ในอนาคต

 



























พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ดวงอาทิตย์ (SUN)

ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเองประเภทดาวแคระเหลือง (Yellow Dwarf) เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 93 ล้านไมล์ (150 ล้านกิโลเมตร)
มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 5,500-6,100 องศาเซลเซียส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 894,443 ไมล์ (1,392,530 กิโลเมตร) ระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ (25-30 วัน) มีขนาดใหญ่มากกว่าโลกถึง 1 ล้านเท่า

ดวงอาทิตย์ มีก๊าซฮีเลียมประมาณร้อยละ 24 ก๊าซไฮโดรเจน ร้อยละ 75 และธาตุอื่นๆ อีกประมาณร้อยละ 1 ภายในดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาหลอมนิวเคลียส (Nuclear Fusion Reactions) ดำเนินอยู่

ทำให้อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกันเกิดเป็นอะตอมของฮีเลียม กลายเป็นพลังงานสำคัญที่แผ่ผ่านมาถึงโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้

➢ พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แสงสว่าง และความร้อน ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์ ทุกๆวันดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานได้เป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่มีวันหมดอีกด้วย นอกจากนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ยังถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นพลังงานทางเลือกสำหรับมนุษย์ใช้แทนที่พลังงานจากฟอสซิล อีกด้วย 

พลังงานแสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร ดวงอาทิตย์คือดาวขนาดยักษ์ที่เต็มไปด้วยก๊าซซึ่งประกอบด้วย ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ภายในแกนของดวงอาทิตย์ ปฏิบัติการที่เรียกว่า การปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ได้สร้างพลังงานจำนวนมหาศาลที่เกิดจากไฮโดรเจน ภายในแกน และผสมผสานกันกลายเป็นก๊าซฮีเลียม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ทำการปลดปล่อยพลังงานจากแกนของดาวออกมาสู่พื้นผิว ระหว่างที่เดินทางมาสู่พื้นผิวดวงอาทิตย์ พลังงานดังกล่าวจะใช้เวลาในการแปรสภาพเป็นพลังงานแสงสว่าง แสงสว่างนี้คือสิ่งที่พวกเราเรียกว่า แสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ใช้เวลาเท่าไรในการเดินทางจากดวงอาทิตย์มายังโลก จากบันทึกของ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) แสงอาทิตย์เดินทางมายังโลกด้วยความเร็วแสง หรือ ประมาณ 186,000 ไมล์ ต่อวินาที ทำให้แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียงแค่ 8 นาทีเท่านั้น

พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้ยังไง? วิธีการง่ายๆที่นิยมใช้กัน คือใช้ระบบที่อยู่ในรูปแบบ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และ แบตเตอร์รี่เก็บพลังงาน แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเก็บแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงาน และเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ ในขณะที่พลังดังกล่าวถูกเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ พลังงานนี้ก็จะถูกใช้งานได้ในรูปแบบของความร้อนและพลังงานไฟฟ้า

เมื่อพลังงานถูกแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้งานได้ดังนี้

  • ทำน้ำร้อน สำหรับห้องอาบน้ำที่บ้าน หรือ สำหรับสระว่ายน้ำ
  • ใช้สำหรับห้องปรับอุณหภูมิ ภายในบ้าน เรือนต้นไม้ หรือ อาคารพาณิชย์ต่างๆ

พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถถูกแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วย 2 วิธี ดังนี้

  1. ใช้อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกกันว่า “โซล่าร์ เซลล์” เพื่อแปรสภาพแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง เซลล์รับแสงอาทิตย์ถูกนำมารวมกันเป็นแผงแล้วถูกจัดให้เป็นระเบียบ ซึ่งช่วยให้รับแสงอาทิตย์ได้เป็นพื้นที่กว้าง เซลล์แสงอาทิตย์นั้นจะเก็บพลังงานได้ตามขนาดของมัน เช่น แผ่นเล็กๆเหมาะสำหรับการสร้างพลังงานให้กับเครื่องคิดเลข และ นาฬิกาข้อมือ แต่เราต้องใช้แผงที่ใหญ่ขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่บ้าน และต้องใช้ขนาดใหญ่และกินพื้นที่เป็นไร่ ในการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า

  2. โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ความร้อนจากเครื่องมือรวบรวมความร้อน แล้วแปรสภาพเป็นของเหลว ซึ่งช่วยในการผลิตไอน้ำ เพื่อเป็นพลังงานให้กับเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ประเทศสหรัฐฯ มีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น อยู่ 11 แห่ง โดยที่มีอยู่ในรัฐ แคลิฟอร์เนีย 9 แห่ง และ ในรัฐเนวาด้า กับ อริโซน่า อีกรัฐละ 1 แห่ง

➢ การวิเคราะห์ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย จากข้อมูลแผนที่ที่ได้

ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์สามารถบอกได้ในรูปของปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบ ในบริเวณนั้นๆ ในรูปของค่าเฉลี่ยระยะยาว ซึ่งสามารถแสดงในรูปแผนที่รายเดือน และรายปี








การแปรค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อเดือนโดยเฉลี่ยทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

จะเห็นว่าปริมาณความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อเดือนโดยเฉลี่ยทุกพื้นที่ ที่คำนวณได้จะแปรค่าในรอบปีอยู่ในช่วงระหว่าง 16-21 MJ/m2-day โดยมีค่าค่อยๆ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมและสูงสุดในเดือนเมษายน แล้วค่อยๆ ลดลงต่ำอีกครั้งในเดือนสิงหาคมและเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกครั้งในเดือนกันยายนแล้วจึงลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคม จากผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าระดับของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในประเทศไทยมีค่าค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นผลดีต่อการประยุกต์ใช้ด้านพลังงานแสงอาทิตย์

 

➢ สรุปพื้นที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(บริเวณที่ได้รับรังสีสูงสุด (19-20 MJ/m2-day)

ลักษณะพื้นที่ - ที่ราบสูง
- แห้งแล้ง
- การก่อตัวของเมฆน้อย

 

ภาคกลาง

  1. นครราชสีมา
  2. ชัยภูมิ
  3. ขอนแก่น
  4. มหาสารคาม
  5. บุรีรัมย์
  6. สุรินทร์
  7. ศรีสะเกษ
  8. ร้อยเอ็ด
  9. ยโสธร
  10. อุบลราชธานี

ลักษณะพื้นที่
- ที่ราบลุ่ม
-การก่อตัวของเมฆน้อยกว่าบริเวณอื่น

บริเวณพื้นที่ที่รับรังสีค่อนข้างต่ำ

 

ภาคเหนือ

และ พื้นที่ตะวันตกของภาคกลาง / ภาคใต้ / ภาคตะวันออก / รอยต่อระหว่างภาคเหนือและ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะพื้นที่
- เป็นภูเขา , ป่าไม้ ก่อตัวของเมฆฝนมากกว่าพื้นที่ราบ

 

ภาคใต้

มีพื้นที่รับรังสีสูงและต่ำ กระจายทั่วไป

ลักษณะพื้นที่
- อิทธิพลจากลมมรสุม และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่

หมายเหตุ : ประเทศไทยเฉลี่ยรังสี 18 MJ/m2-day

 

SOLAR



➢ หลักการทำงานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์

เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและ โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น

ตัวอย่าง 

เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว จะให้กระแสไฟฟ้าประมาณ 2-3 แอมแปร์ และให้แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดประมาณ 0.6 โวลต์ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไม่มากนัก ดังนั้นเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้ามากเพียงพอสำหรับใช้งาน จึงมีการนำเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็น เรียกว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Modules) ลักษณะการต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นอยู่ว่าต้องการกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า

  • การต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบขนาน จะทำให้ได้กระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
  • การต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอนุกรม จะทำให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น

➢ อุปกรณ์สำคัญของระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง จึงนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น หากต้องการนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับหรือเก็บสะสมพลังงานไว้ใช้ต่อไป จะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ อีก โดยรวมเข้าเป็นระบบที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์สำคัญๆ มีดังนี้

  • แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถวหรือเป็นชุด (Solar Array) เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ โดยการต่อกันแบบอนุกรม จะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และการต่อกันแบบขนาน จะเพิ่มพลังงานไฟฟ้า หากสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ก็จะมีผลให้ปริมาณของค่าเฉลี่ยพลังงานสูงสุดในหนึ่งวันไม่เท่ากันด้วย รวมถึงอุณหภูมิก็มีผลต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากอุณหภูมิสูงขึ้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะลดลง

  • เครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller) ทำหน้าที่ประจุกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้าสู่แบตเตอรี่ และควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ด้วย ดังนั้น การทำงานของเครื่องควบคุมการประจุ คือ เมื่อประจุกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่จนเต็มแล้ว จะหยุดหรือลดการประจุกระแสไฟฟ้า (และมักจะมีคุณสมบัติในการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า กรณีแรงดันของแบตเตอรี่ลดลงด้วย) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่เท่านั้น

  • แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถวหรือเป็นชุด (Solar Array) เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ โดยการต่อกันแบบอนุกรม จะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และการต่อกันแบบขนาน จะเพิ่มพลังงานไฟฟ้า หากสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ก็จะมีผลให้ปริมาณของค่าเฉลี่ยพลังงานสูงสุดในหนึ่งวันไม่เท่ากันด้วย รวมถึงอุณหภูมิก็มีผลต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากอุณหภูมิสูงขึ้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะลดลง

  • เครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller) ทำหน้าที่ประจุกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้าสู่แบตเตอรี่ และควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ด้วย ดังนั้น การทำงานของเครื่องควบคุมการประจุ คือ เมื่อประจุกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่จนเต็มแล้ว จะหยุดหรือลดการประจุกระแสไฟฟ้า (และมักจะมีคุณสมบัติในการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า กรณีแรงดันของแบตเตอรี่ลดลงด้วย) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่เท่านั้น
  • แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ใช้เวลาที่ต้องการ เช่น เวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เวลากลางคืน หรือนำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆ แบตเตอรี่มีหลายชนิดและหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม 

  • เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับทุกชนิด และ Modified Sine Wave Inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ไม่มีส่วนประกอบของมอเตอร์และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็น Electronic ballast 

  • ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection) ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อฟ้าผ่า หรือเกิดการเหนี่ยวนำทำให้ความต่างศักย์สูง ในระบบทั่วไปมักไม่ใช้อุปกรณ์นี้ จะใช้สำหรับระบบขนาดใหญ่และมีความสำคัญเท่านั้น รวมถึงต้องมีระบบสายดินที่มีประสิทธิภาพด้วย

➢ ชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งตามวัสดุที่ใช้เป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ

  1. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน ชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline Silicon Solar Cell) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Monocrystalline Silicon Solar Cell และชนิดผลึกรวม (Polycrystalline Silicon Solar Cell) ลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนแข็งและบางมาก 

  2. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell) ลักษณะเป็นฟิล์มบางเพียง 0.5 ไมครอน (0.0005 มม.) น้ำหนักเบามาก และประสิทธิภาพเพียง 5-10% 

  3. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำอื่นๆ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์, แคดเมียม เทลเลอไรด์ และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ เป็นต้น มีทั้งชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline) และผลึกรวม(Polycrystalline) เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากแกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ จะให้ประสิทธิภาพสูงถึง 20-25%

**กลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน ซึ่งประเภทนี้ จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป แต่มีราคาสูงมาก ไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาขบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้มีราคาถูกลง และนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต ( ปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด)**

 

➢ ส่วนประกอบของเซลล์แสงอาทิตย์

แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากเซลล์แสงอาทิตย์เพียงเซลล์เดียวจะมีค่าต่ำมาก การนำมาใช้งานจะต้องนำเซลล์หลาย ๆ เซลล์ มาต่อกันแบบอนุกรมเพื่อเพิ่มค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้สูงขึ้น เซลล์ที่นำมาต่อกันในจำนวนและขนาดที่เหมาะสมเรียกว่า แผงเซลล์แสง อาทิตย์ (Solar Module หรือ Solar Panel)

การทำเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นแผงก็เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน ด้านหน้าของแผงเซลล์ ประกอบด้วย แผ่นกระจกที่ มีส่วนผสมของเหล็กต่ำ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยอมให้แสงผ่านได้ดี และยังเป็นเกราะป้องกันแผ่นเซลล์อีกด้วย แผงเซลล์จะต้องมีการ ป้องกันความชื้นที่ดีมาก เพราะจะต้องอยู่กลางแดดกลางฝนเป็นเวลายาวนาน ในการประกอบจะต้องใช้วัสดุที่มีความคงทนและป้อง กันความชื้นที่ดี เช่น ซิลิโคนและ อีวีเอ (Ethelele Vinyl Acetate) เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันแผ่นกระจกด้านบนของแผงเซลล์ จึง ต้องมีการทำกรอบด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง แต่บางครั้งก็ไม่มีความจำเป็น ถ้ามีการเสริมความแข็งแรงของแผ่นกระจกให้เพียงพอ ซึ่งก็สามารถทดแทนการทำกรอบได้เช่นกัน ดังนั้นแผงเซลล์จึงมีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ (laminate) ซึ่งสะดวกในการติดตั้ง

➢ การบำรุงรักษาแผง Solar

การดูแลบำรุงรักษาแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้น ไม่ยากอย่างที่คิด แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ไม่ควรละเลย เพราะหากไม่เอาใจใส่แล้ว ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอาจลดลงจากเริ่มต้น โดยเฉพาะแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Panel) ที่ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด 
การดูแลระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่สามารถดูแลรักษาได้เหมือนกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆทั่วไปในบ้าน เริ่มต้นดังนี้

  • Keep them out of the shade. อย่าให้เงามาบดบัง
    ดูแลอย่าให้เงาของต้นไม้ บริเวณโดยรอบ มาบดบังแสงอาทิตย์ เพราะหากเงาพาดบนแผง โซล่าร์เซลล์ แค่เพียงบางส่วน จะทำให้ประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า ได้ปริมาณลดลงได้มากถึง 25% เลยทีเดียว ฉะนั้นควรตัดแต่งต้นไม้เสียบ้าง ไม่ให้เงามารบกวนการทำงานของระบบโซล่าร์รูฟ

  • Monitor the panels. หมั่นสังเกตการทำงานระบบผลิตไฟฟ้า
    ให้สังเกตว่า ไฟสีเขียวติดอยู่หรือไม่? หากติดอยู่ก็แสดงว่า การทำงานปกติ หากไฟกระพริบหรือไม่ติดแสดงว่า มีปัญหา ให้แจ้งช่างมาตรวจสอบ เพียงง่ายๆ แค่นี้ ก็ช่วยให้ระบบผลิตไฟฟ้าให้คุณ ต่อเนื่องได้ทุกๆวัน

  • Keep a record of your panel's performance day-to-day.
    จดบันทึกการทำงานย้อนหลัง เก็บเอาไว้บ้าง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ แม้ว่าอินเวอเตอร์สามารถบันทึกได้ แต่ก็เพียง 6 เดือนย้อนหลังเท่านั้น ปัจจุบันสามารถตรวจสอบการทำงานได้หลายทางเช่น อ่านบันทึกจากตัวเครื่อง หรือ ดาวน์โหลดข้อมูลจากระบบออนไลน์ (หากมี)

  • Keep them Clean
    คำถามที่ถูกถามบ่อยครั้งว่า ควรทำความสะอาดแผงบ่อยแค่ไหน? ขึ้นอยู่กับสถานที่ติดตั้งเป็นสำคัญ ว่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นมาก, มีละอองไอน้ำมัน, ใกล้บริเวณการก่อสร้าง หรือมีฝูงนกอาศัยอยู่มาก อาจจำเป็นต้องมีการทำความสะอาดบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อดูแลให้ระบบทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

  • How to clean your solar panels? แล้วทำความสะอาดอย่างไร?
    เพียงใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดกระจกก็เพียงพอ (ระวังอย่าขัดแรงจนทำให้เกิดรอยขูดขีดบนผิวหน้ากระจก ) ล้างตามด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งสนิท